ผื่นในฤดูหนาว ปัญหาผิวหนัง ที่มาพร้อมกับความเย็น

5829 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผื่นในฤดูหนาว ปัญหาผิวหนัง ที่มาพร้อมกับความเย็น

ผื่นในฤดูหนาว เป็นผื่นที่เกิดจากการที่สภาพอากาศหนาวเย็นเข้าไปลดความชุ่มชื่นของชั้นผิวหนัง จนส่งผลให้ผิวแห้ง และเป็นผดผื่น แม้ผื่นชนิดนี้อาจไม่มีอันตราย แต่ก็ควรให้ความสำคัญในการดูแลและบำรุงผิวในฤดูหนาว เพราะหากละเลยการดูแลผิว นอกเหนือจากผื่นหน้านาวแล้ว ก็อาจเกิดโรคทางผิวหนังรุนแรงบางอย่างได้

ผื่นในฤดูหนาว คืออะไร
ผื่นในฤดูหนาว (Winter Rash) คือ ผื่นที่เกิดจากการที่สภาพอากาศหนาวเย็นเข้าไปลดความชุ่มชื่นของชั้นผิวหนัง จนส่งผลให้ผิวแห้งและเป็นผดผื่น แม้ว่าอาจจะไม่มีอันตราย แต่ก็ควรให้ความสำคัญในการดูแลและบำรุงผิวในฤดูหนาว เพราะหากละเลยการดูแลผิว นอกเหนือจากผื่นหน้านาวแล้ว ก็อาจเกิดโรคทางผิวหนังรุนแรงบางอย่างได้ดังนี้
• โรซาเซีย (Rosacea) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดผดผื่น และมีตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง
• โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) อาจเกิดจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นและแห้ง จนทำให้ผิวหนังเกิดเป็นผื่นแดง และขุยสีขาวลอกออกมาเป็นแผ่นหนาได้
• โรคผิวหนัง (Dermatitis) คือ การอักเสบของผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการคัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการไหลเวียนของเลือดติดขัด หรือการเผลอสัมผัสกับสารอันตรายจนเกิดการติดเชื้อขึ้น
• ลมพิษที่เกิดจากความเย็น (Cold Urticaria) ถึงแม้ว่าภาวะนี้อาจพบได้ยาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้หากผิวหนังสัมผัสกับความเย็นจนมากเกินไป จนส่งผลให้ผิวหนังมีอาการบวมแดง คัน และผื่นขึ้น แต่ผื่นที่เกิดอาจอยู่เพียงชั่วคราวประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น


อาการของผื่นหน้าหนาว
นอกเหนือจากอาการผดผื่นแล้ว ผื่นหน้าหนาวก็อาจมาพร้อมกับอาการดังต่อไปนี้
• อาการคัน
• ผิวหนังเป็นสะเก็ด
• แผลพุพอง
• ผิวหนังบวมอักเสบ
• ผื่น และรอยแดง
หากมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือหากอาการที่มีรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังทันที เพื่อรับการตรวจสอบและรักษาได้อย่างทันท่วงที

วิธีรักษาผื่นในฤดูหนาว
โดยปกติ ผื่นหน้าหนาวมักเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย แต่โดยส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นบริเวณแขน ขา มือ ซึ่งหากสังเกตเห็นว่าเริ่มมีอาการคันระคายเคือง พร้อมผื่นขึ้น อาจทำตามวิธีดังต่อไปนี้

• ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื่น และอ่อนโยนแก่ผิว เช่น มอยส์เจอไรเซอร์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หลังอาบน้ำทุกครั้ง
• หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่มีอุณหภูมิสูง
• ทาครีมกันแดดเป็นประจำ เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้
• ใช้ระยะเวลาการอาบน้ำให้สั้นลง เพราะการอาบน้ำเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ความชุ่มชื้นของผิวลดลงได้
สำหรับกรณีที่อาการผื่นแดงยังไม่บรรเทาลง อาจจำเป็นต้องเข้ารับการวินิจฉัยจากคุณหมอ โดยคุณหมอจะทำการตรวจสภาพผิวหนัง ทดสอบโรคภูมิแพ้ หรือทดสอบทางพันธุกรรมสำหรับสภาพผิวอีกครั้ง เพราะอาจมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ผื่นหน้าหนาวหายช้ากว่าปกติ

 

ที่มา : https://hellokhunmor.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้